Menu

apis

ฉากกรีนสกรีน ทำไมถึงเป็นสีเขียว มันจะเป็นสีขาว สีครีม หรือสีม่วงไม่ได้

 

ถ้าหากคุณเคยเคยเห็น เบื้องหลังการถ่ายทำ ภาพยนตร์ หรือหนังสมัยใหม่  ที่อลังการงานสร้าง เกินจากจินตนาการ  คุณก็ต้องเคยเห็น ความอัศจรรย์ ของ ฉาก green screen  สีเขียว ในการถ่ายทำฉากเหล่านั้น  เทคนิคที่ช่วยให้ ผู้ผลิตภาพยนตร์ รายการทีวี สามารถถ่ายทำ ให้นักแสดง อยู่ที่หน้า ฉากเขียว แล้วไปแทนฉากเขียวด้วย special effect ต่างๆ

ฉากเขียว แต่เดิมเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งการใช้ chroma Key ครั้งแรก เกิดขึ้นในปี 1940 ในภาพยนตร์เรื่อง The  thief of baghdad  ผู้กำกับชื่อ ลาร์รี บัตเลอร์  ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนั้น เขาก็ได้รับรางวัลออสการ์ ในสาขาเทคนิคพิเศษ แต่หลังจากตรงนั้นเป็นต้นมา การทำเทคนิคพิเศษ ด้วยสีเขียวก็กลายเป็นเรื่องปกติ

แล้วทำไม ฉากกรีนสกรีน ถึงต้องเป็นสีเขียว คำตอบสั้นๆก็คือ ฉากกรีนสกรีน มันเป็นสีเขียว เพราะ ตัวคน ไม่มีสีเขียว ขยายความเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นก็คือ เพื่อแยกส่วนของภาพ ให้เอฟเฟคทำงานในพื้นที่ที่เรากำหนด ตัว Background จะต้องเป็นสี ที่ไม่ได้ใช้ในส่วนอื่นๆของภาพ ซึ่งสีเขียว เป็นสี Skin Tone ที่ในร่างกายของมนุษย์ไม่มี แต่ก็แน่นอนละ ในบางครั้ง ตัวนักแสดงก็ใส่เสื้อผ้าสีเขียว เครื่องประดับสีเขียว และบางครั้งก็มีผมสีเขียว หรือแต่งหน้าด้วย เครื่องสำอางสีเขียว แต่สิ่งเหล่านั้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้  แต่การจะเปลี่ยนแปลงสีผิวของมนุษย์ เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

หากคุณถูกแสงสีขาว เช่นแสงจากดวงอาทิตย์ หรือแสงจากหลอดไฟ แสงที่ตกกระทบตัว จะมีช่วงความยาวคลื่น ที่มองเห็นได้ทั้งหมด และผิวหนังของมนุษย์ จะสะท้อนแสงนั้นในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน ในแต่ละสีของสเปกตรัม หาตัวเราสะท้อนสี 1 สีใดออกมา มากกว่าสีอื่นๆ เราก็จะดูเหมือนเป็นสีที่อิ่มตัว

เราเคยชินจากคำอธิบาย ด้วยชื่อสีเช่น สีน้ำตาล สีชมพูสีขาวสีดำ หรือแม้แต่สีเหลือง แต่ถ้าเป็นมุมมองทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสีผิว เราทุกคนล้วนสีผิวเป็นสีส้ม

องค์ประกอบของสี
สีถูกกำหนด การรับรู้ของตัวเรา ไม่ใช่ทางฟิสิกส์  เรตินาในดวงตาของมนุษย์ มีเซลล์ที่ไวต่อสี 3 ประเภท ซึ่งมีความไวต่อสีแตกต่างกัน  เซ็นเซอร์ในดวงตาเราสามารถ แยกแยะสีได้ว่าเป็นสีแดงสีเขียวหรือสีน้ำเงิน  แม้ว่าความไวของพวกมันจะคาบเกี่ยวกันมาก และใกล้เคียงกับสีเหลือง สีเขียวอมฟ้า และสีน้ำเงินมากกว่า

การอธิบายสีอย่างสมบูรณ์ ตัวเลข 3 ตัว ซึ่งเป็นตัวที่เราคุ้นเคย ก็คือตัวเลขของสี เขียวน้ำเงิน (RGB)  หรือ อีกแบบคือค่า HSV ซึ่ง Hue(H)  Saturation(S) Value(V)  แกนสีทั้ง 3 นี้ จะอธิบายวิธีที่เรา เรียกสี เช่น สีเขียวเทาเข้ม หรือสีน้ำเงินเข้มอ่อน

ช่วงความสว่างของผิวมนุษย์ (หรือ Value  ตามที่แสดงในภาพด้านบน แต่ละเฉดสี อิ่มตัวของสี จะไม่แตกต่างกันมากทั้งหมด โดยพื้นฐานแล้ว ผิวชั้นนอกของมนุษย์เราที่เป็นหนังกำพร้า มีลักษณะเป็นตัวกรองสี ที่เป็นกลางบนผิวหนัง ในชั้นผิวหนังแท้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีแดงเนื่องจากเป็นสีของเลือด ที่ซึมซาบอยู่ในผิว

กล้องเลียนแบบสายตามนุษย์
กล้องถ่ายภาพนิ่งและวีดีโอส่วนใหญ่ ทำงานเหมือนดวงตาของมนุษย์ โดยมีตารางเซ็นเซอร์หรือพิกเซล ตรวจจับสีแดง สีเขียว หรือสีน้ำเงิน การมองเหมือนตาของมนุษย์ ที่จะมองสีต่างๆและความสว่าง พวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวีดีโอ หรือการบันทึกภาพ จะแปลง input เหล่านี้เป็นข้อมูลความสว่าง และสีที่แยกจากกัน เรียกว่า luminance ( luma) และ chrominance ( chroma) 

luminance  โดยพื้นฐานแล้วก็คือความสว่าง ในขณะที่ chrominance  คือพิกัดบน วงกลม  สีและความอิ่มตัว hue/saturation  และเมื่อมีการใช้ทีวีสีเกิดขึ้นมา   ในสัญญาณการถ่ายทอด มีการส่งค่า chroma component  มาด้วย ทำให้ทีวีที่ดั้งเดิมเป็นทีวีสีขาวดำ ที่มีแต่ค่า luminance  เมื่อนำ 2 ค่ามาใช้งาน เมื่อรวมกับค่า chrominance  ก็กำเนิดเป็นทีวีสี

ในตอนนี้ทีวีอนาล็อก จะไม่มีแล้ว  แต่ทีวีดิจิตอล และ  วีดีโอในอินเตอร์เน็ต ยังคงมีส่งภาพ แบบที่มีการเข้ารหัส luma และ chroma แยกจากกัน  ส่วนหนึ่ง เหตุผลเรื่องของการบีบอัดข้อมูล อีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการแสดงสีที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น และอีกส่วนก็เกี่ยวข้องกับเรื่อง ลูกเล่นวีดีโอกับจอสีเขียว

Go Back

Archive